ประเพณีป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง หรือเทศกาลสงกรานต์
กำหนดให้มีตั้งแต่วันที่ 13-16 เมษายน โดยการเนรมิตถนนเล่นน้ำกลางเมืองเชียงราย ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ทำบุญตักบาตรในช่วงเช้า สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ขนทรายเข้าวัด สรงน้ำพ่อขุนเม็งรายมหาราช รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุแต่ละชุมชน ประกวดเทพีสงกรานต์ แข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ขบวนแห่ ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง บนถนนเล่นน้ำคือ ถนนธนาลัย จะใช้เป็นถนนเพื่อการเล่นน้ำตลอดทั้งสาย โดยเทศบาลได้ออกแบบอุโมงค์ที่มีสายน้ำใสสะอาดพุ่งออกมาจากทั้งสองฟากถนน
ประเพณียี่เป็งลอยกระทง
ประกวดโคม ประกวดกระทง
งานตานหาพญามังราย
เนื่องในวันที่ 26 มกราคม ของทุกปี จะเป็นวันคล้ายวันที่พญามังราย หรือ พ่อขุนเม็งรายมหาราช ได้ทรงสร้างเมืองเชียงรายไว้เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.1805 เทศบาลนครเชียงราย ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน จึงได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลสักการะดวงพระวิญญาณพ่อขุนเม็งรายมหาราชขึ้นในวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี ณ วัดดอยงำเมือง
งานประเพณีแห่โคมไฟไหดอก
เมื่อวันมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบครบรอบทุกปี เทศบาลนครเชียงรายร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายจึงได้ จัดงานประเพณีแห่โคมไฟ ไหดอก ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเพื่อให้พุทธศาสนิกชนร่วมกันสร้างบุญกุศลสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป
งานประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ด (ตักบาตรเที่ยงคืน)
ในครั้งอดีตเมื่อใกล้เวลาประมาณเที่ยงคืน ในคืนวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ จะมีประชาชนจำนวนมากมาร่วมทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ภายในเขตเทศบาลนครเชียงราย ตามถนนสายต่าง ๆ จำนวนหลายร้อยรูป โดยเรียกวันดังกล่าวว่า "วันเป็งปุ๊ด"
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
คือ การทำบุญตักบาตร ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ชาวเมืองจึงพากันทำบุญตักบาตรเป็นการใหญ่เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาถึง 3 เดือน การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า ตักบาตรเทวโรหนะ ต่อมามีการเรียกกร่อนไปเหลือเพียง ตักบาตรเทโว เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้นและเพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่ เทศบาลนครเชียงรายจึงได้จัดงานประเพณี "ตักบาตรเทโว" เพื่อสืบทอดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นประจำทุกปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น