✿จังหวัดเชียงราย✿
เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา
ล้ำค่าพระธาตุดอยตุงเชียงราย ดินแดนแห่งขุนเขา
ประวัติจังหวัดเชียงราย
เชียงราย เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำกก จึงเป็นดินแดนที่มีผู้คนเข้ามาตั้งหลักแหล่ง ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในเขตที่ราบลุ่มรอบแม่น้ำกก สันนิษฐานว่า บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางของชุมชนตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.1800 เพราะมีร่องรอยของซากเมืองที่มีความเจริญ ทางวัฒนธรรมและศิลปะ ซากเมืองโบราณที่ค้นพบในปัจจุบันมีถึง 27 เมือง ตั้งแต่ อ.ฝาง ของเชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำกก มาจนถึงเมืองเชียงแสน แสดงให้เห็นว่า มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำกก อย่างหนาแน่น และได้ขยายตัวสร้างบ้านแปงเมืองกันไม่ขาดสาย
ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงรายเริ่มต้นในสมัยต้นพุทธศตวรรษที่ 19 โดยพญามังราย (พ.ศ.1781 - 1860) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย บุตรของพญาลาวเม็ง ผู้ครองนครหิรัญนครเงินยาง (เชียงแสนในปัจจุบัน) ได้ขึ้นครองราชย์แทนพญาลาวเม็ง ในปี พ.ศ.1802 และได้ย้ายราชธานี จากเมืองหิรัญนครเงินยาง มาสร้างราชธานีแห่งใหม่ ที่ริมฝั่งแม่น้ำกก เมื่อ พ.ศ.1805 และได้ขนานนามว่า เชียงราย หมายถึง "เมืองของพญามังราย"
จากนั้นจึงได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครือญาติสายเลือดลัวะจักราช เช่น เมืองเชียงไร เมืองไร เมืองปง เมืองเวียงคำ เชียงเงิน เชียงของ ฯลฯ เข้ามาไว้ในอำนาจ และแผ่อำนาจเข้าไปในเขตลุ่มน้ำปิง ปี พ.ศ.1839 ทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ให้ชื่อราชธานีใหม่ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่" และครองราชย์อยู่ที่เชียงใหม่ตลอด โดยให้ราชโอรส ไปครองเมืองเชียงรายแทน เชียงรายจึงกลายเป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่ไป
เมื่อพญามังรายสวรรคตลง ภายในอาณาจักรล้านนาอันมีเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีเกิดความแตกแยกกัน เจ้าผู้ครองนครแก่งแย่งชิงอำนาจกัน จนเกิดสงครามกลางเมือง พระเจ้าบุเรงนองฉวยโอกาส เข้าตีอาณาจักรล้านนาสำเร็จ พม่าจึงได้ปกครองอาณาจักรล้านนาเป็นเวลากว่า 200 ปี และได้ฟื้นฟูเมืองเชียงแสนขึ้นเป็นเมืองสำคัญ ในการปกครองของหัวเมืองฝ่ายเหนือ
ต้นพุทธศตวรรษที่ 24 สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พญากาวิละ เป็นผู้ซึ่งมีบทบาทสูง ในการเกลี้ยกล่อมให้บรรดาเมืองต่างๆ ในล้านนา ร่วมมือกันต่อสู้กับพม่า แต่ยังไม่สำเร็จ จนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทรงส่งกำลังมาสนับสนุนพญากาวิละ ต่อสู้กับพม่าจนเป็นผลสำเร็จ ทรงสถาปนาให้เชียงใหม่เป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงแต่งตั้งพญากาวิละเป็น "พระเจ้ากาวิละ" ปกครองเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2347 พระเจ้ากาวิละ ทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงแสน และกวาดต้อนผู้คนออกจากบริเวณเมืองจนหมด เมืองต่างๆ รวมทั้งเมืองเชียงราย จึงถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง
ต่อมาในปี พ.ศ.2386 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 เชียงรายได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในฐานะเมืองบริวารของเชียงใหม่ โดยมีเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าปกครองนคร
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินนโยบายสร้างความเป็นเอกภาพทางการเมือง ประกาศจัดตั้งมณฑลพายัพขึ้น ในปี พ.ศ.2427 และยกเลิกหัวเมืองประเทศราชล้านนาไทย เมืองเชียงรายจึงจัดเป็นเมืองหนึ่งซึ่งขึ้นตรงต่อมณฑลพายัพ ในสมัยรัชกาลที่ 6 การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลจึงถูกยกเลิก เชียงรายจึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดหนึ่งของสยามประเทศมานับตั้งแต่นั้นมา
ล้ำค่าพระธาตุดอยตุงเชียงราย ดินแดนแห่งขุนเขา
ประวัติจังหวัดเชียงราย
เชียงราย เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำกก จึงเป็นดินแดนที่มีผู้คนเข้ามาตั้งหลักแหล่ง ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในเขตที่ราบลุ่มรอบแม่น้ำกก สันนิษฐานว่า บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางของชุมชนตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.1800 เพราะมีร่องรอยของซากเมืองที่มีความเจริญ ทางวัฒนธรรมและศิลปะ ซากเมืองโบราณที่ค้นพบในปัจจุบันมีถึง 27 เมือง ตั้งแต่ อ.ฝาง ของเชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำกก มาจนถึงเมืองเชียงแสน แสดงให้เห็นว่า มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำกก อย่างหนาแน่น และได้ขยายตัวสร้างบ้านแปงเมืองกันไม่ขาดสาย
ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงรายเริ่มต้นในสมัยต้นพุทธศตวรรษที่ 19 โดยพญามังราย (พ.ศ.1781 - 1860) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย บุตรของพญาลาวเม็ง ผู้ครองนครหิรัญนครเงินยาง (เชียงแสนในปัจจุบัน) ได้ขึ้นครองราชย์แทนพญาลาวเม็ง ในปี พ.ศ.1802 และได้ย้ายราชธานี จากเมืองหิรัญนครเงินยาง มาสร้างราชธานีแห่งใหม่ ที่ริมฝั่งแม่น้ำกก เมื่อ พ.ศ.1805 และได้ขนานนามว่า เชียงราย หมายถึง "เมืองของพญามังราย"
จากนั้นจึงได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครือญาติสายเลือดลัวะจักราช เช่น เมืองเชียงไร เมืองไร เมืองปง เมืองเวียงคำ เชียงเงิน เชียงของ ฯลฯ เข้ามาไว้ในอำนาจ และแผ่อำนาจเข้าไปในเขตลุ่มน้ำปิง ปี พ.ศ.1839 ทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ให้ชื่อราชธานีใหม่ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่" และครองราชย์อยู่ที่เชียงใหม่ตลอด โดยให้ราชโอรส ไปครองเมืองเชียงรายแทน เชียงรายจึงกลายเป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่ไป
เมื่อพญามังรายสวรรคตลง ภายในอาณาจักรล้านนาอันมีเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีเกิดความแตกแยกกัน เจ้าผู้ครองนครแก่งแย่งชิงอำนาจกัน จนเกิดสงครามกลางเมือง พระเจ้าบุเรงนองฉวยโอกาส เข้าตีอาณาจักรล้านนาสำเร็จ พม่าจึงได้ปกครองอาณาจักรล้านนาเป็นเวลากว่า 200 ปี และได้ฟื้นฟูเมืองเชียงแสนขึ้นเป็นเมืองสำคัญ ในการปกครองของหัวเมืองฝ่ายเหนือ
ต้นพุทธศตวรรษที่ 24 สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พญากาวิละ เป็นผู้ซึ่งมีบทบาทสูง ในการเกลี้ยกล่อมให้บรรดาเมืองต่างๆ ในล้านนา ร่วมมือกันต่อสู้กับพม่า แต่ยังไม่สำเร็จ จนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทรงส่งกำลังมาสนับสนุนพญากาวิละ ต่อสู้กับพม่าจนเป็นผลสำเร็จ ทรงสถาปนาให้เชียงใหม่เป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงแต่งตั้งพญากาวิละเป็น "พระเจ้ากาวิละ" ปกครองเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2347 พระเจ้ากาวิละ ทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงแสน และกวาดต้อนผู้คนออกจากบริเวณเมืองจนหมด เมืองต่างๆ รวมทั้งเมืองเชียงราย จึงถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง
ต่อมาในปี พ.ศ.2386 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 เชียงรายได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในฐานะเมืองบริวารของเชียงใหม่ โดยมีเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าปกครองนคร
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินนโยบายสร้างความเป็นเอกภาพทางการเมือง ประกาศจัดตั้งมณฑลพายัพขึ้น ในปี พ.ศ.2427 และยกเลิกหัวเมืองประเทศราชล้านนาไทย เมืองเชียงรายจึงจัดเป็นเมืองหนึ่งซึ่งขึ้นตรงต่อมณฑลพายัพ ในสมัยรัชกาลที่ 6 การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลจึงถูกยกเลิก เชียงรายจึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดหนึ่งของสยามประเทศมานับตั้งแต่นั้นมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น